ReadyPlanet.com
dot
bulletIC-Switching-บอร์ดตู้เย็น Samsung RT-20HAR1
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 1
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 2
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 3
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 4
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 5




พื้นฐานอิเลคโทรนิกส์เพื่อวิเคราะห์ซ่อมบอร์ด

                                             พื้นฐานอิเลคโทรนิกส์เบื้องต้นสำหรับงานวิเคราะห์ซ่อมบอร์ด
    
     ... ความแตกต่างระหว่างเรื่องของไฟฟ้าและอิเลคโทรนิกส์
          ไฟฟ้าเป็นพลังงานในรูปแบบหนึ่ง สามารถนำมาใช้งานโดยเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานอื่นได้โดยตรง
      - การเปลี่ยนไปเป็นพลังงานกล เช่นการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้า
      - การเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในรูปแบบของแสงสว่าง เช่น หลอดไฟ
      - การเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน/เย็น เช่นฮีตเตอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น ตู้แช่
    ส่วนสำหรับอิเลคโทรนิกส์นั้น นั่นก็คือเรานำเอาสัญญาณของไฟฟ้ามาใช้งาน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า

                      “ อิเลคโทรนิกส์ก็คือสมองของไฟฟ้า
      
... ชนิดของไฟฟ้า แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด (ในบางตำราก็ว่ามี 3 ชนิด)
          
- ไฟฟ้าสถิตย์ (Static Electricity) เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ และสามารถ
            สร้างขึ้นเองได้ส่วนมากเมื่อเกิดขึ้นมักจะอยู่กับที่ ไม่มีการไหลของไฟฟ้า นำมาใช้งานในด้านเครื่อง
            ถ่ายเอกสาร การพ่นสี ฯลฯ
          
- ไฟฟ้ากระแส (Current Electricity) ยังแบ่งออกตามที่ใช้งานเป็น
            
.... ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Currentหรือไฟ AC เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลอยู่ตลอดเวลาทั้งกระแสและแรงดัน เป็นไฟฟ้าที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่มีขั้วบวกและลบ ส่วนใหญ่เราจะกำหนดเป็นเส้นมีไฟ หรือเส้นLine หรือ L (ไลน์) และเส้น Neutralหรือ N (นิวตรอล)
                                และมีความถี่50
Hz สำหรับในบ้านเรา
          

          ... การทดสอบว่าสายเส้นไหนเป็นเส้นมีไฟ หรือเส้น
             ไหนเป็นเส้น นิวตรอล สามารถใช้ไขควงเช็คไฟ
             เช็คได้ หรือให้มั่นใจก็ใช้มัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัด
             250-1000
Vac ไม่กำหนดขั้ว สายใดก็ได้วัด
             คร่อมในจุดที่จะวัดได้เช่นกัน ...ตามรูป
          … การกำหนดสีของสายไฟก็มีความสำคัญ โดยมาตร
             ฐานอุตสหกรรม
จะกำหนดสีทั้งแบบไฟ 220Vac 1เฟสเและแบบ 3เฟส ตามรูป
 
    

... ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) หรือไฟ DC เป็นไฟที่มีขั้วบวกและขั้วลบแน่นอน เช่น ไฟจากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หรือการแปลงจากไฟ Vac มาเป็น Vdc จากวงจรภาคจ่ายไฟ
หรืออะแดปเตอร์ เป็นต้น

  รู้จักกับพื้นฐานวงจรอิเลคฯ สำหรับงานวิเคราะห์บอร์ด/แผงควบคุมสำหรับระบบทำความเย็นขนาดเล็ก
  
     อุปกรณ์พื้นฐานและสัญญลักษ์
  ... ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องของการซ่อมและวิเคราะห์วงจร เราจำเป็นต้องรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยงข้อง รวมไปถึงการอ่านสัญญลักษ์ซึ่งในแต่ละวงจรจะมีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่มากมาย ต้องรู้ว่าตัวไหนเรียกว่าอะไร ทำหน้าที่แบบไหน ถ้าเสียเราจะตรวจสอบได้อย่างไร โดยจะพูดถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในงานของ “ ระบบทำความเย็นขนาดเล็ก “ เท่านั้น
  ... สำหรับอุปกรณ์ทางอิเลคโทรนิกส์นั้น เราจะแบ่งเป็น
     - ประเภทแอคทีฟ (Active Device)             
 
... นั่นก็หมายถึงว่าอุปกรณ์นี้เป็นส่วนสำคัญและควบคุมในการทำงานในวงจร
   เช่นขยายสัญญาณ เพิ่มแรงดัน/กระแส การ
เปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งไปสู่อีก
   อย่างหนึ่ง ฯลฯ นั่นคืออุปกรณ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำทั้งหลาย
   (
Semi-Conductor)
ยกตัวอย่างเช่นทรานซิสเตอร์ (Transistor)
   เพาเวอร์-มอสเฟท
(Power-Mosfet) ไดโอดชนิดต่างๆ ไอ.ซี.ภาคจ่ายไฟเช่น LNK306 TNY253 TOP242 ViPER12,22 ฯล

    ประเภทพาสซีฟ (Passtive-Device) เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีส่วนในการควบคุมมากนัก อาจทำหน้าที่เป็นเพียงให้แรงดัน/กระแสผ่านไป หรือตกคร่อมในตัวมัน แบ่งกระแส/แรงดันให้เหมาะกับการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ตัวต้านทานหรือรีซิสเตอร์ (Resistor) ตัวเก็บประจุหรือแคป/คาปาซิเตอร์ (Capacitor)ขดลวดหรือ L(Inductor) ต่างๆ
    ... ทั้งนี้จะตั้งใจอธิบายให้ครบทุกตัว ที่เกี่ยวข้องกับงานในระบบทำความเย็น 
       ขนาดเล็กทั้งหมด ในส่วนของบอร์ด/แผงควบคุม โดยเราจะเริ่มในหมวด
       ของอุปกรณ์
Passtive-Device กันก่อน
      
ตัวต้านทาน หรือรีซิสเตอร์ (Resistor)
   - ทำหน้าที่ลดแรงดัน กระแส สัญญาณให้ต่ำลง หรือแบ่งแรงดันไฟให้เหมาะสมกับวงจรนั้นๆ มีมากมายหลายชนิดทั้งรูปแบบในการใช้งาน มีหน่วยเป็นโอห์ม K-โอห์ม M-โอห์ม ในงานของเราจะมีใช้งานในหลายหน้าที่เช่น
   ... เป็น
R-กันกระชากในการเริ่มต้นของภาคจ่ายไฟ
   ... ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟิวส์ ในการป้องกันขดลวดใน
 มอเตอร์ของคอยล์เย็น-คอยล์ร้อนในแอร์บ้าน และในแผงหรือบอร์ดควบคุมของแอร์เช่นกัน
    ... เป็นตัวเริ่มต้นการสตาร์ทการทำงานของมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์ (
PTC) และตรวจจับการเปลี่ยนแปลง
      ของอุณหภูมิ (
NTC) ทั้งในของแอร์และตู้เย็น สามารถทนกำลังงานได้ตั้งแต่ค่าวัตต์ต่ำๆไปจนถึง วัตต์สูงๆ
      ค่ามีทั้งบอกเป็นตัวเลขบนตัวและเป็นรหัสสี และเนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยี่ได้ก้าวไกลไปมากโดยเฉพาะ
      ในเรื่องของเครื่องมือเครื่องไม้ ที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆได้ง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงต้องมี
      ความรู้ในการอ่านค่าแบบดั้งเดิมไว้ด้วย นั่นก็คือการอ่านค่าสีบนตัวของตัวต้านทาน ซึ่งเป็นแถบสีที่มีอยู่บน
      ตัวต้านทานแบบคาร์บอน โดยจะมีทั้งแบบ 4 แถบ 5 แถบและ 6 แถบสี ดังตัวอย่างด้านล่างนี้
      
    การฝึกการอ่านก็คงจะเลี่ยงไม่ได้ในการจำค่าสี โดยการอ่านค่าจะเป็นดังนี้ทั้งแบบ 4,5 และ 6 แถบสี
    ... ใน 1-3 แถบแรก จะเป็นตัวตั้งเช่นถ้าสีส้ม เหลือง แดง ก็หมายถึง 3 4 และ 2
    ... ในแถบที่ 4 จะเป็นตัวคูณหรือจำนวน 0 ที่ต้องเติม เช่นถ้าเป็นน้ำตาลคือเติม 0 ไป 1 ตัว
       จะเท่ากับ 342 เติม 0
= 3420 โอห์ม และเทียบได้กับ 1000 โอห์มจะ = 1K โอห์ม
       หรือใส่จุดทศนิยมไป 3 จุดจะได้เป็น 3.420
K โอห์ม นั่นเอง
    ... ในแถบที่ 5 ก็จะเป็นการบอกค่าความผิดพลาดของความต้านทานมีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
       เช่น ถ้าเป็นสีแดงก็ผิดพลาด 2 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นสีทองก็ผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์
    หมายเหตุ ...ถ้าเป็นตัวต้านทานแบบค่าทนวัตต์ได้มากๆ จะเขียนค่าความต้านทานบอกไว้บนตัวเลย แต่ค่า
             ความผิดพลาดจะบอกมาเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่นถ้าเป็นตัว
G จะผิดพลาด 2 เปอร์เซ็นต์
             ถ้าเป็นตัว
J จะผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์หรือถ้าเป็นตัว K ก็จะผิดพลาด 10 เปอร์เซ็นต์...เป็นต้น
                   
 รูปแสดงตัวต้านทานหลายๆแบบที่มีใช้ในงานระบบทำความเย็นขนาดเล็ก
    
           
การอ่านค่าตัวต้านทานแบบ SMD ซึ่งก็มีการอ่านที่เหมือนๆกับแบบธรรมดา
               
 ***** ยังมีการอ่านค่าในรูปแบบตัวเลข 2 หลักตั้งแต่ 00 ไปจนถึง 96 ซึ่งตัวเลขแต่ละคู่จะบอกค่าเป็นตัว
          ตั้งเหมือนกับที่เราอ่านค่าตัวต้านทานแบบคาร์บอน และตามด้วยตัวอักษร คือค่าตัวคูณหรือจำนวนเลข
          0 ที่ต้องเติมลงไปเช่น ...
           ถ้าเป็นเลข 10 ตัวตั้งก็คือ 124
           ถ้าตามด้วยตัวอักษร
B ก็คือเติม 0 ตามไป 1 ตัว
           ก็จะได้ค่า 1240 โอห์มหรือถ้าทำเป็น
K โอห์มก็จะได้ = 1.24K โอห์ม นั่นเอง *****

    ตัวเก็บประจุ หรือคาปาซิเตอร์ Capacitor
  
      ... ทำหน้าที่เก็บไฟและจ่ายไฟ หรือที่เราเรียกว่าการชาร์จและดิชชาร์ท ในงานของระบบทำความเย็นขนาด
         เล็ก จะมีมากมายหลายแบบ และแต่ละแบบแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามงานที่ใช้
        ทั้งในงานบนแผง/บอร์ดอิเลคโทรนิกส์ และงานกำลัง มีแบบมีขั้วและไม่มีขั้ว มีหน่วยในการใช้งานก็คือ
        “ ฟารัด “ (
Farad) ตัวย่อคือ แต่ในการใช้งานจริงจะมีหน่วยย่อยออกไปอีก
        ส่วนมากก็จะเป็นจำนวหนึ่งในล้านส่วน ..เช่น
       
 
- 1 ไมโครฟารัด = 1 ในล้านส่วน
  - 1 นาโนฟารัด
= 1 ในพันล้านส่วน
  - 1 ปิกโก้ฟารัด
= 1 ในล้าน ..ล้านส่วน


.... ข้อมูลจาก 

    
      ... ส่วนใหญ่การบอกค่าของตัวเก็บประจุ หรือ
C นั้นถ้าเป็นตัวใหญ่ๆ ทั้งแบบที่มีขั้วและไม่มีขั้วจะพิมพ์ค่า
         บอกไว้ที่บนตัวอุปกรณ์ แต่ถ้าเป็นแบบตัวเล็กๆ ค่าความจุไม่มาก ก็จะแสดงเป็นตัวเลข,ตัวอักษร ซึ่งเรา
         จะต้องมาอ่านค่าบนตัวอุปกรณ์กันอีกที ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างที่ใช้งานในงานของระบบทำความเย็น
         ขนาดเล็ก เป็นแบบๆไป ไม่เรียงและเจาะจงก่อนหลัง
     
... C ที่ใช้งานบนแผง/บอร์ดควบคุม มีทั้งแบบมีขั้วและไม่มีขั้ว
  
         - ทำหน้าที่กรองกระแสหรือฟิลเตอร์ไฟจาก Vac ไปเป็นไฟกระแสตรง หรือ Vdc ให้เรียบ
         - ส่งผ่านหรือกรองความถี่ทั้งสูง/ต่ำ แล้วแต่การออกแบบของวงจรนั้นๆ
         - การส่งผ่านสัญญาณหรือการคลัปปิ้ง
         - ป้องกันและทำให้เกิดความปลอดภัย
         - เริ่มต้นหรือสตาร์ทการทำงานของมอเตอร์
   
 ... ชนิดของ C หรือคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในวงจรควบคุม/บอร์ด/แผง
        C แบบอิเลคโตรไลติกส์ชนิดมีขั้ว       

        
                







Copyright © 2021 All Rights Reserved.

ร้านสุขประเสริฐเซอร์วิส
ที่อยู่ :  เลขที่ 35 ซ.จรัลสนิทวงศ์ 89เขต :  บางอ้อ แขวง : บางพลัด
จังหวัด กรุงเทพฯ:     รหัสไปรษณีย์ : 10700
เบอร์โทร :  02-0740600     มือถือ :  0846663328
อีเมล : praseat5949@gmail.com
เว็บไซต์ : www.ssc-services.net