ReadyPlanet.com
dot
bulletIC-Switching-บอร์ดตู้เย็น Samsung RT-20HAR1
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 1
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 2
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 3
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 4
bulletเอกสารแอร์เบื้องต้น 5




น้ำยา ...หรือสารทำความเย็น

                                            ... เรื่องของสารทำความเย็นหรือน้ำยา กับการวิเคราะห์ระบบท่อ
  
   ... ในระบบทำความเย็นขนาดเล็ก
ซึ่งหมายถึงเรื่องของตู้เย็น ตู้แช่ แอร์บ้านแบบธรรมดา สารทำความเย็นหรือน้ำยาที่เรารู้จักกันนั้นก็จะมีมากมายหลายเบอร์ที่นำมาใช้งานในปัจจุบัน(พ.ศ.2565) ตัวอย่างเช่นถ้าเป็น
   - ตู้เย็น ตู้แช่ น้ำยาที่มีใช้ก็เริ่มจาก
 
     ...
R-12 บรรจุในถังสีขาว ซึ่งปัจจุบันได้มีการยกเลิกการใช้ไปแล้ว เนื่องจากตัวน้ำยาสามารถ
       สร้างมลพิษและทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน และสภาวะเรือนกระจกได้
     ...
R-134a บรรจุในถังสีฟ้าอ่อน ใช้งานมากในเรื่องของตู้เย็น ตู้แช่ต่างๆ และมีการใช้ในแอร์
               รถยนต์
     ...
R-600a บรรจุในถังสีส้ม ส่วนใหญ่มักมากับตู้เย็น ตู้แช่ที่เป็นระบบอินเวอร์เตอร์ มีการใช้ใน
               ปริมาณที่น้อย/ตู้ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น เพราะสภาพของน้ำยาที่มีคุณสมบัติ
               ใกล้เคียงกับก๊าซหุงต้มนั่นเอง
     ...
R-290  บรรจุในถังสีเทา (ถ้าสีผิดต้องขออภัยด้วย) ตู้รุ่นใหม่ๆเริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น
               คุณสมบัติเหมือนกับ R-600a แต่แรงดันที่ใช้งานจะมากกว่า
   - แอร์บ้านธรรมดา และแบบอินเวอร์เตอร์
     ...
R-22 บรรจุในถังสีเขียว ใช้ในแอร์บ้านแบบธรรมดาหรือแบบ Fix Speed ปัจจุบันยังมี
             การให้ใช้ได้และจะยกเลิกการใช้อย่างถาวรในเร็วๆนี้(อาจจะเป็นปีพ.ศ. 2570)
     ...
R410a บรรจุในถังสีชมพู มาพร้อมๆกับแอร์ที่เป็นอินเวอร์เตอร์ในรุ่นแรกๆ เป็นน้ำยาหรือ
             สารทำความเย็นที่มีส่วนผสมระหว่างน้ำยา 2 เบอร์นั่นคือ
R-32 กับ R-125 ที่
             สำคัญก็คือเวลาเติมน้ำยาแบบนี้ต้องทำการคว่ำถังเติมเพื่อให้เป็นของเหลว เนื่องจาก
             จะมีส่วนผสมของน้ำยาที่เป็น
R-410a ได้สมบรูณ์ นั่นก็คือ
             (R-125 50% และ R-32 50%)
   
... R-32 บรรจุในถังสีแดง แต่ในปัจจุบันก็มีบรรจุในถังสีอื่นๆด้วยมีใช้ทั้งแอร์แบบธรรมดา และ
            แบบอินเวอร์เตอร์
      
                       ตัวอย่างคร่าวๆสีของถังน้ำยาในแต่ละเบอร์
   ...
เนื่องจากน้ำยามีมากมายหลายเบอร์เราจึงจะกล่าวแค่น้ำยาที่ใช้ในงานของระบบทำความเย็น
      ขนาดเล็ก
เท่านั้น เราสามารถดูสถานะของน้ำยาแต่ละเบอร์ที่ใช้ได้ตามรูปด้านล่าง
    
    ... จุดประสงค์ที่ต้องศึกษาเรื่องคุณสมบัติของน้ำยาในแต่ละเบอร์ จะทำให้เราได้รู้ถึงความผิดปกติ
       ของระบบท่อได้ โดยจะเริ่มจากวงจรของน้ำยา หรือที่เราเรียกว่า วัฏจักรของน้ำยา
       นั่นเอง  
                        คุณสมบัติของน้ำยาจะมีดังนี้
   
   
- แรงดันในสภาวะปกติของน้ำยา หรือ Standing Pressure เป็นค่าแรงดันตามมาตรฐาน
     ของน้ำยาแต่ละเบอร์ ซึ่งจะไม่เท่ากันตัวอย่างเช่น
R-134a = 80-95 หน่วยเป็น psi
     หรือถ้าเป็น
R-410a ก็จะ = 225-230 หน่วยเป็น psi เป็นต้น
    ***** และแรงดันปกติตรงนี้ สามารถนำมาเปรียบเทียบแรงดันเสมอระหว่างด้านแรงดันสูงกับ
           ด้านแรงดันต่ำ หรือที่เราเรียกว่า “ แรงดันบาล้านซ์ “ ได้อีกด้วย นั่นก็หมายความว่า
           เมื่อเวลา
คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน แรงดันทั้ง 2 ฝั่งจะต้องเท่ากันยกตัวอย่างเช่น
           ... ถ้าเป็นตู้เย็นใช้น้ำยา 134
a ในขณะที่คอมฯทำงานจะอยู่ที่ 12-15 psi แต่เมื่อ
           คอมฯหยุดทำงานและถ้าเราสวมมินิโฟลด์-เกจด์ ไว้ที่หัวเติมน้ำยา เราจะเห็นว่า
           เข็มในเกจด์ฯ จะค่อยๆขึ้นไปจนถึง 60-80
psi นั่นคือระบบท่อปกติ ... *****

    - แรงดันที่ออกจากท่ออัดของคอมเพรสเซอร์ หรือ Discharge Pressure หรือแรงดันสูงใน
      ขณะที่
ทำงานในระบบ เป็นแรงดันที่เกิดจากการอัดของคอมเพรสเซอร์ที่มีต่อน้ำยานั้นๆ จากไอ
      หรือก๊าซธรรมดาเป็นไอหรือก๊าซที่มีความร้อน/อุณหภูมิสูง และแรงดันสูงที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะปกติ
      ตัวอย่างเช่น 
      ...
R-134 แรงดันปกติที่ 80-95 psi เมื่อถูกคอมฯอัดออกมาจะได้ = 150 psi
      … R-410aแรงดันปกติที่ 225-230 psi เมื่อถูกคอมฯอัดออกมาจะได้ = 450-500 psi
   
- แรงดันกลับที่เป็นไอหรือก๊าซ หรือ Suction Pressure ที่กลับมายังท่อดูดของ
      คอมเพรสเซอร์ที่มีสภาพเป็นไอหรือก๊าซในขณะที่คอมฯกำลังทำงานอยู่ ยกตัวอย่างเช่น
      ... ถ้าเป็น
R-134a จะมีแรงดันเพียง 12-15 psi
      ... ถ้าเป็น
R-410a จะมีแรงดันที่ 120-140 psi เป็นต้น







Copyright © 2021 All Rights Reserved.

ร้านสุขประเสริฐเซอร์วิส
ที่อยู่ :  เลขที่ 35 ซ.จรัลสนิทวงศ์ 89เขต :  บางอ้อ แขวง : บางพลัด
จังหวัด กรุงเทพฯ:     รหัสไปรษณีย์ : 10700
เบอร์โทร :  02-0740600     มือถือ :  0846663328
อีเมล : praseat5949@gmail.com
เว็บไซต์ : www.ssc-services.net